มาทำความรู้จักปูนเกร้าท์
ปูนเกร้าท์ ปูนเทโครงสร้างคอนกรีตและปูนซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ที่รับกำลังแรงอัดได้สูง ไหลตัวได้ดี ไม่แยกชั้น ไม่หดตัว เหมาะกับงานเข้าแบบ งานอุดรูช่องว่างคอนกรีต งานเทปิดรอยต่อฐานราก ติดตั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ คุณสมบัติพิเศษ ทนต่อแรงสั่นสะเทือน คอนกรีตไม่เป็นโพรง

เตรียมปูนเกร้าท์อย่างไรให้เหมาะสม?
- เลือกประเภทปูน และคำนวณปริมาณการใช้งาน
- เตรียมพื้นผิว เตรียมแบบ เว้นระยะห่างจากขอบฐาน ประมาณ 5 ซม. และสูงกว่าฐานอย่างน้อย 2.5ซม
- ผสมปูนตามอัตราส่วน ปูน 5 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 4.75- 5 ลิตร ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เป็นเม็ด
- พักปูนที่ผสมเสร็จไว้ประมาณ 5 นาที ก่อนใช้งาน
เข้าแบบอย่างไรให้ได้รูป?
- เทน้ำลงในแบบเพื่อบ่มผิวคอนกรีตให้อิ่มน้ำ ใช้ปูนฉาบบริเวณฐานของแบบเพื่อป้องกันการไหลของปูนเกร้าท์
- เทปูนเกร้าท์ ที่ผสมเสร็จลงในแบบที่เตรียมไว้ เข้าแบบจากด้านใดด้านหนึ่ง เทอย่างต่อเนื่อง ห้ามเกิดฟองอากาศ
- ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ทำการแกะแบบ
เลือกใช้เกร้าท์อย่างไรให้เหมาะสม
- รับกำลังแรงอัด 730 KSC – 750 KSC
ขนาดช่องว่าง 10 -50 มม.
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
SIKA
ปูนเกร้าท์ 212 GP หรือ LANKO
ปูนเกร้าท์ 701
- รับกำลังแรงอัด 800 KSC
ขนาดช่องว่าง 10 -70 มม.
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
SIKA
ปูนเกร้าท์ 214-11

ผนังแตก กำแพงร้าว !!!! ซ่อมเองได้ ไม่ยาก รอยร้าวเกิดจากอะไร? ปัญหารอยร้าวเกิดขึ้นได้จากแรงสั่นสะเทือนของรถบนท้องถนนที่สัญจรผ่าน ความชื้นของโครงสร้างอาคาร การทรุดตัวของดินหรือการคำนวณการรับน้ำหนักของตัวอาคารผิดพลาด เมื่อบ้านหรืออาคารมีรอยแตกลายงาตามผนังกำแพง มุมขอบประตูหรือหน้าต่าง รอยร้าวระหว่างส่วนต่อเติม ต้องรีบซ่อมแซมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา